การประมาณหนี้สงสัยจะสูญและการตัดจำหน่ายหนี้สูญ

พฤศจิกายน 14, 2007

การประมาณหนี้สงสัยจะสูญและการตัดจำหน่ายหนี้สูญ

การประมาณหนี้สงสัยจะสูญมีวิธีการปฏิบัติดังนี้

1. การประมาณหนี้สงสัยจะสูญ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 11 กำหนดว่ากิจการควรใช้วิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญที่เหมาะสมกับลักษณะลูกหนี้ของกิจการ ซึ่งวิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญที่นิยมใช้มีดังต่อไปนี้

  • คำนวณเป็นร้อยละของยอดขาย (Percentage Of Sales) วิธีนี้กิจการต้องวิเคราะห์จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับลูกหนี้ที่เก็บไม่ได้เทียบเป็นอัตราส่วนกับยอดขาย ยอดขายแบ่งออกเป็นยอดขายรวม และยอดขายเชื่อแล้วแต่กิจการจะใช้ยอดขายลักษณะใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของกิจการ
  • คำนวณเป็นร้อยละของยอดลูกหนี้ (Percentage Of Outstanding Receivable) วิธีนี้เป็นวิธีที่ให้ความสำคัญต่อความถูกต้องของมูลค่าลูกหนี้ในงบดุลเป็นหลักมากกว่าจะคำนึงถึงการเปรียบเทียบรายได้และค่าใช้จ่ายเช่นวิธีคำนวณจากยอดขาย วิธีนี้กิจการต้องวิเคราะห์จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เพื่อประมาณอัตราร้อยละของยอดลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บไม่ได้ต่อยอดลูกหนี้ที่ค้าง ณ วันสิ้นงวด วิธีนี้สามารถทำได้ 2 วิธีเช่น
    วิธีที่ 1 คำนวณเป็นร้อยละของยอดลูกหนี้สำหรับลูกหนี้ทั้งหมดคงที่
    วิธีที่ 2 คำนวณโดยเป็นจัดกลุ่มลูกหนี้จำแนกตามอายุของหนี้ค้างชำระ หากค้างชำระนานจะมีโอกาสหนี้สงสัยจะสูญสูงกว่า วิธีนี้จะยุ่งยากสำหรับกรณีที่กิจการมีลูกหนี้จำนวนมากรายดังนั้นจึงคำนวณอัตราร้อยละสูงกว่ายอดลูกหนี้ที่เริ่มค้างชำระเกินกำหนด ลูกหนี้ค้างชำระนานมีโอกาสไม่ชำระหนี้มากกว่าลูกหนี้ที่เริ่มเกิดไม่ว่าจะเป็นการประมาณหนี้สงสัยจะสูญวิธีใด กิจการควรทบทวนอัตราร้อยละที่ใช้เพื่อให้การประมาณในจำนวนที่ใกล้เคียงความเป็นจริงให้มากที่สุด

ตัวอย่าง การประมาณหนี้สงสัยจะสูญโดยคำนวณเป็นร้อยละของยอดขาย
สมมติ กิจการมีประสบการณ์จากลูกหนี้ที่เรียกเก็บไม่ได้เฉลี่ยแล้วประมาณ 2 % ของยอดขายเชื่อ หากในปี 25×1 กิจการมียอดขายเชื่อ 50,000 บาทการบันทึกรายการปรับปรุงเกี่ยวกับหนี้ที่คาดว่าจะเก็บไม่ได้ ณ วันสิ้นปี 25×1 จะเป็นดังนี้

เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ 1,000
เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 1,000
(คำนวณ 50,000 × 2 % = 1,000 บาท )

ข้อสังเกต วิธีนี้ไม่ว่าจะใช้ยอดขายรวมหรือขายเชื่อก็ตามจะไม่คำนึงถึงยอดคงเหลือที่มีอยู่ก่อนการบันทึกรายการปรับปรุงเมื่อสิ้นปี

ตัวอย่าง การประมาณหนี้สงสัยจะสูญโดยคำนวณเป็นร้อยละของยอดลูกหนี้
สมมติ กิจการมียอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญยกมา จำนวน 900 บาทระหว่างปีกิจการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ จำนวน 100,000 บาท กิจการคาดว่าจะมีหนี้ที่เรียกเก็บไม่ได้ 2%ของยอดลูกหนี้ดังนั้นจะบันทึกบัญชี ณ วันสิ้นปีกิจการจะปรับปรุงบัญชีดังนี้

เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ 1,100
เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 1,100
(คำนวณ 100,000 × 2 % = 2,000 – 900 = 1,100 บาท)

วิธีนี้จะต้องนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญก่อนปรับปรุงหากจำนวนที่คำนวณได้มากกว่าจะต้องเพิ่มจำนวนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ แต่หากน้อยกว่าจะต้องตัดทิ้งเนื่องจากบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมีเกินความต้องการ

จากตัวอย่างเดิม หากกิจการมียอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญยกมาจำนวน 2,500 บาท กิจการจะปรับปรุงดังนี้

เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 500
เครดิต หนี้สงสัยจะสูญ 500
(คำนวณ 100,000 × 2 % = 2,000 – 2,500 = – 500) บาทยอดติดลบจะลดยอดบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ 8,500
เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 8,500

เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 500
เครดิต หนี้สงสัยจะสูญ 500
(คำนวณ 100,000 × 2 % = 2,000 – 2,500 = – 500) บาท

การประมาณหนี้สงสัยจะสูญชนิดนี้จะพิจารณาลูกหนี้แต่ละราย และเป็นวิธีที่เน้นการแสดงลูกหนี้ในมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับวิธีนี้จะทำให้ยอดลูกหนี้ที่คาดว่าจะได้รับถูกต้อง เพราะนำลูกหนี้มาพิจารณา อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะทำได้ยากเพราะถ้ากิจการมีลูกหนี้จำนวนมาก
สรุป บัญชีหนี้สงสัยจะสูญที่แสดงเป็นยอดด้าน เครดิตตามมาตรฐานการบัญชีที่ 11 ให้นำรายการหนี้สงสัยจะสูญนี้ แสดงเป็นรายการหักภายใต้หัวข้อค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในงบกำไรขาดทุน

2.การตัดจำหน่ายหนี้สูญ มีวิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • เมื่อมีการทวงถามหนี้จนถึงที่สุด และกิจการได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมายภาษีอากรแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับชำระหนี้และหนี้สูญนั้นเข้าเกณฑ์ที่จะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายภาษี มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 11 ได้กำหนดให้กิจการตัดจำหน่ายบัญชีลูกหนี้เป็นหนี้สูญและให้ลดจำนวนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ การบันทึกบัญชีจะเป็นดังนี้

    เดบิต หนี้สูญ xxx
    เครดิต ลูกหนี้ xxx
    (บันทึกการตัดยอดลูกหนี้เป็นหนี้สูญ)

    เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ xxx
    เครดิต หนี้สงสัยจะสูญ xxx
    (บันทึกการลดยอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเท่ากับยอดที่ตัดเป็นหนี้สูญ)

    ข้อสังเกต เดบิตบัญชีหนี้สูญและเครดิตบัญชีหนี้สงสัยจะสูญเป็นยอดที่เท่ากันจึงไม่กระทบรายการค่าใช้จ่ายของงวดที่ตัดจำหน่ายเป็นหนี้สูญและไม่ได้ทำให้มูลค่าตามบัญชีของลูกหนี้เปลี่ยนไป

  • รณีที่คาดหมายได้ค่อนข้างแน่นอนว่าจะไม่ได้รับชำระหนี้ แต่ยังตัดเป็นหนี้สูญตามกฎหมายภาษีอากรไม่ได้ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 11 ระบุว่ากรณีนี้กิจการอาจตัดจำหน่ายลูกหนี้เป็นหนี้สูญทางบัญชีได้โดยบันทึกดังนี้

    เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ xxx
    เครดิต ลูกหนี้ xxx

ใส่ความเห็น