การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนระยะยาวของหุ้นกู้

หลักการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนระยะยาวของหุ้นกู้มีหลักปฏิบัติดังนี้

1.ซื้อหุ้นกู้ในวันที่จ่ายดอกเบี้ย
ตัวอย่าง กิจการซื้อหุ้นกู้ 10 %ในวันที่ 1 มกราคม 25×1 จำนวน 1,000 หุ้นมูลค่าหุ้นละ 100 บาทในราคาหุ้นละ 105 บาทกำหนดจ่ายดอกเบี้ยปีละครั้งคือทุกวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะบันทึกโดย

เดบิต หลักทรัพย์เผื่อขาย-หุ้นกู้ 105,000

เครดิต เงินสด 105,000

2.ซื้อหุ้นกู้ในระหว่างงวดการจ่ายดอกเบี้ย

ตัวอย่าง กิจการซื้อหุ้นกู้ 10 % ในวันที่ 1 มีนาคม 25×1 จำนวน 1,000 บาทราคา
มูลค่าหุ้นละ 100 บาท ในราคาหุ้นละ 102 บาทกำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุกวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี กิจการจะบันทึก

เดบิต หลักทรัพย์เผื่อขาย-หุ้นกู้ 102,000

ดอกเบี้ยรับ (ดอกเบี้ยค้างรับ) 1,667

เครดิต เงินสด 103,667

หากต่อมากิจการได้รับดอกเบี้ยจะบันทึก

เดบิต เงินสด 10,000

เครดิต ดอกเบี้ยรับ 10,000

หรือ

เดบิต เงินสด 10,000

เครดิต ดอกเบี้ยค้างรับ 1,667
ดอกเบี้ยรับ 8,333

การบันทึกบัญชีการปรับมูลค่าของเงินลงทุนระยะยาวในวันสิ้นงวด

เงินลงทุนระยะยาวไม่ว่าจะเป็นคราสารหนี้และตราสารทุนที่อยู่ในความต้องการ
ของตลาดหรือเงินลงทุนทั่วไปมูลค่าของเงินลงทุนอาจเปลี่ยนไปตามสภาวะตลาดทุน กิจการต้องรับรู้มูลค่าที่เปลี่ยนแปลงไปเช่น เงินลงทุนในตราสารหนี้ต้องแสดงด้วยราคายุติธรรมกิจการจะต้องตัดส่วนต่ำหรือส่วนเกินทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเพื่อให้ราคาหุ้นกู้เป็นราคาปัจจุบันโดยจะใช้วิธีตัดจำหน่ายตามวิธีอัตราดอกเบี้ยแท้จริง

3.ในวันสิ้นงวดบัญชีต่อมาหากเงินลงทุน-หุ้นกู้มีราคาลดลง หรือเพิ่มขึ้นมูลค่ายุติธรรมต่ำกว่าราคาตามบัญชีจะบันทึกโดย

เดบิต รายการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น xxx

เครดิต หลักทรัพย์เผื่อขาย-หุ้นกู้ xxx

หากราคายุติธรรมสูงกว่าราคาตามบัญชีจะบันทึกโดย
เดบิต หลักทรัพย์เผื่อขาย- หุ้นกู้ xxx

เครดิต รายการกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้น xxx

4. ในวันสิ้นงวดต่อมา หากขายเงินลงทุนจะบันทึกโดย

เดบิต เงินสด xxx

เครดิต หลักทรัพย์เผื่อขาย-หุ้นกู้ xxx
รายการกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้น xxx
รายการกำไรที่เกิดขึ้นจากการจำหน่ายเงินลงทุน xxx

5.การโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุน (หุ้นกู้เปลี่ยนเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า)จะบันทึก

เดบิต หลักทรัพย์เพื่อค้า xx

เครดิต หลักทรัพย์เผื่อขาย-หุ้นกู้ xx
รายการกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้น xx

ตัวอย่างที่ 1 ต่อไปนี้เป็นรายการเกี่ยวกับเงินลงทุนระยะยาวของบริษัทวิสิฐ จำกัด
25×1 ม.ค 1 ซื้อหุ้นกู้ในบริษัทกุลวลี จำกัด ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
จำนวน 10,000 หุ้น ราคามูลค่าหุ้นละ 100 บาท อัตราดอกเบี้ย
12% ต่อปี อายุ 5 ปี จ่ายดอกเบี้ยทุกสิ้นปี โดยมีความตั้งใจที่จะถือ
ไว้เผื่อขาย และซื้อมาใน ราคา 1,075,815 บาท ทำให้อัตราดอกเบี้ย
ที่แท้จริงเป็น 10%
ธ.ค.31 หุ้นของบริษัทกุลวลี มีราคาตลาดเป็น 1,050,000 บาท
25×2 ก.ค. 1 ขายหุ้นบริษัทกุลวลีไปทั้งหมดในราคา 1,100,000 บาท

ให้ทำ 1. ตารางแสดงการตัดจำหน่ายส่วนเกินมูลค่าตามวิธีที่แท้จริง
2. บันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป

ตัวอย่างที่ 2 (จากตัวอย่างที่ 1) หากถือจนครบกำหนดจะบันทึกดังนี้